thai version english  
 
dr-sak
cai
research works
invention
Project
nicu setting
books
weblink
news
site map
 
     
 
 
     
 

750.00 บาท
(สั่งซื้อตอนนี้ 750 พิเศษ 650)




**คลิกสั่งซื้อที่นี่หรือไลน์**
ทาง Line ID: newbook88

Jirapaet K, Jirapaet V. Neonatal Health Assessment. Bangkok: OS Printing House, 2022.
การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิด
     เป็นตำราที่ให้ความรู้ในการรวบรวมข้อมูลและ การให้เหตุผลในการวินิจฉัยภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่การวินิจฉัยโรค/ปัญหาสุขภาพได้ถูกต้อง ตำราให้รายละเอียดวิธีรวบรวมประวัติสุขภาพของทารกแรกเกิด หลักการตรวจร่างกาย วิธีตรวจอวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกาย วิทยาการก้าวหน้าที่ช่วยการประเมินภาวะสุขภาพ การแปลผลภาวะปรกติและผิดปรกติที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด และกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการวินิจฉัยภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิด
     เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของผู้อ่าน ตำราแสดงตัวอย่างภาพทางกายวิภาคศาสตร์ ภาพวิธีประเมินภาวะสุขภาพ และภาพของภาวะต่างๆ ในทารกแรกเกิด จำนวน 380 ภาพ ซึ่งใช้เวลาในการรวบรวมนานถึง 10 ปี

คลิกชมสารบัญ

  







 
 
     
 


590.00 บาท
(สั่งซื้อตอนนี้ ส่วนลด20%)





**คลิกสั่งซื้อที่นี่หรือไลน์**
ทาง Line ID: newbook88


Jirapaet  V, Jirapaet K. Strategies for Successful Breastfeeding: Thammada Press, 2020.
กลวิธีสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่:
หนังสือเล่มนี้มีคำตอบเพื่อการบรรลุผลลัพธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
อย่างต่อเนื่องและเป้าหมายของประเทศ
เนื้อหาในหนังสือประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 กลยุทธ์การดูแลที่เน้นทีมเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง
     บทที่ 1 นโยบายและการบริหารจัดการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
     บทที่ 2 บันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
               (ฉบับปรับปรุง 2018)
     บทที่ 3 กฎหมายและสวัสดิการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการ
     บทที่ 4 มาตรการปกป้องทารกจากอาหารทดแทนนมแม่
     บทที่ 5 แนวปฏิบัติการยอมรับการเลี้ยงทารกด้วยนมผสม
ส่วนที่ 2 ทฤษฎีสู่การปฏิบัติทางคลินิกขั้นพื้นฐาน
     บทที่ 6 วิทยาการก้าวหน้าของกายวิภาค และสรีรวิทยาเต้านมและ
               กลไกการดูดนมแม่
     บทที่ 7 แนวปฏิบัติการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วย
               นมแม่ ระยะตั้งครรภ์ระยะหลังคลอด และเมื่อกลับบ้าน
     บทที่ 8 การดูดนมจากเต้า การบีบเก็บนมแม่ และการนำไปใช้
               เลี้ยงทารก
ส่วนที 3 ทฤษฎีสู่การปฏิบัติขั้นสูงทางคลินิก
   บทที่  9  การจัดการปัญหาที่พบบ่อยในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
   บทที่ 10 การจัดการปัญหาที่พบบ่อยในทารกที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
   บทที่ 11 การปฏิบัติเพื่อให้ทารกเกิดก่อนกำหนดได้รับนมแม่
   บทที่ 12 แนวปฏิบัติการระบายและการหยุดการสร้างนํ้านม
ส่วนที่ 4 สถาปัตยกรรมและทางเลือกเพื่อเพิ่มผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ
   บทที่ 13 หลักการออกแบบสถานบริการ เพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วย
               นมแม่
   บทที่ 14 ธนาคารนมแม่

เหมาะสำหรับแพทย์ พยาบาล นิสิตนักศึกษา บุคลากรทางสาธารณสุข
และนักนโยบายทางสุขภาพ

คลิกชมตัวอย่างหนังสือ
    

 

 
 

195.00 บาท
(สั่งซื้อตอนนี้ 195 ลดพิเศษ 170)




Jirapaet K, Jirapaet V.  Atlas of normal findings and common problems in neonates. Bangkok: Dan Sutha Press, 2012.
ภาวะปรกติและผิดปรกติที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด:
เนื้อหาในหนังสือประกอบด้วย
     ส่วนที่ 1 ภาวะปรกติในทารกแรกเกิด ที่เกิดได้ตามธรรมชาติ และไม่ต้องการการรักษาใด ๆ
     ส่วนที่ 2 ภาวะผิดปรกติที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด ที่บุคลากรทางสุขภาพต้องให้การดูแลรักษาได้ถูกต้อง
                 ตั้งแต่เริ่มแรก และพ่อแม่่ต้องรีบนำทารกไปโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดความเจ็บป่วย
                 รุนแรงที่อาจนำไปสู่ความพิการ หรือการสูญเสียทารก
พร้อมภาพของภาวะต่าง ๆ กว่า 150 ภาพ ซึ่งจัดพิมพ์ในระบบออฟเซต 4 สีตลอดเล่ม เพื่อให้เหมือนจริง
และง่ายต่อความเข้าใจ
สำหรับแพทย์ พยาบาล นักศึกษา และพ่อแม่ ในการสังเกตอาการและ การตัดสินใจให้การดูแลรักษา
ที่เหมาะสมแก่ทารก





 

 
 

490.00 บาท
(สั่งซื้อตอนนี้ 490 ลดพิเศษ 20%)




Jirapaet V, Jirapaet K. Patient Safety Management Concepts, Process, and Clinical Practice Guideline, 2007.
การบริหารความปลอดภัยของผู้ป่วย: แนวคิด กระบวนการ และแนวปฏิบัติความปลอดภัยทางคลินิก
      เนื้อหาในตำรามุ่งเน้นการเป็นแหล่งความรู้สำหรับบุคลากรทางสุขภาพ ผู้บริหารองค์กร นิสิต และนักศึกษา ในการวางแผนและการปฏิบัติการดูแลสุขภาพที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย รวมทั้งการลดโอกาสเสี่ยงหรือการเกิดความเสียหายจากประเด็นการฟ้องร้องในการจัดบริการทางสุขภาพสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กร เนื้อหาในตำราประกอบด้วย
     - แนวคิดและทฤษฏีความปลอดภัยของผู้ป่วย
    - กระบวนการสร้างระบบความปลอดภัยในองค์กร
    - การออกแบบหอผู้ป่วยที่ปลอดภัย
    - การพัฒนาแนวปฏิบัติความปลอดภัยของผู้ป่วย
    - ตัวอย่างแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อความปลอดภัยของทารกแรกเกิด ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มี
       ความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติการณ์ความผิดพลาด
    - ประเด็นกฏหมายสำหรับการบริหารความปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงหรือความเสียหายจากการ
      ฟ้องร้องสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กร


 
 
Jirapaet K, Jirapaet V. Principle of basic newborn care. Bangkok :Venteran Welfare Authority Press, 2002.
หลักการ การดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐาน
    -  การพัฒนามาตรฐานการดูแลทารกแรกเกิด
    -  ทารกแรกเกิดที่มีความ เสี่ยงสูง (High-risk neonates)
    -  การดูแลทารกแรกเกิดตามเกณฑ์การประเมินลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย
    -  การปฎบัติที่มีอันตรายต่อการดูแลทารกแรกเกิด,
    -  การควบคุมอุณหภูมิกายของทารกแรกเกิด
    -  การให้ออกซิเจนในทารก แรกเกิด (Oxygen therapy in neonates)
    -  การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก (Maternal-infant bonding)
    -  การให้น้ำนม ปริมาณน้อย (Minimal enteral feeding)
    -  การให้น้ำนมแม่แก่ทารกเกิดก่อนกำหนดและ ทารกแรกเกิดที่เจ็บป่วย
    -  การบีบน้ำนมจากเต้า (Hand expression of breastmilk)
    -  การป้อนนม ด้วยถ้วย (Cup feeding)
    -  การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดธรรมดาในทารกแรกเกิด
    -  การใช้ เครื่องช่วยหายใจชนิด synchronized ventilation
    -  การพยาบาลเด็กที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ
    -  การลดเวลาการอยู่ในโรงพยาบาลของทารกเกิดก่อนกำหนด
    -  การใช้เครื่องติดตาม (Monitoring)
    -  การขนย้ายทารกแรกเกิด (Infant transport)


 
 
Jirapaet K. Advanced technology in neonatal mechanical ventilation: synchronized ventilation and pressure support ventilation. Union Creation, 2001.
เทคโนโลยีใหม่ของการช่วยหายใจในทารกแรกเกิด
     จุดประสงค์ของผู้นิพนธ์ในการเขียนหนังสือเล่มนี้คือให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบหลักการเบื้องต้นของการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดธรรมดา เพราะเป็นพื้นฐานสำหรับการใช้เครื่องช่วยหายใจที่มีวิธีช่วยหายใจแบบใหม่ เข้าใจและสามารถใช้เครื่องช่วยหายใจที่มีวิธีช่วยหายใจแบบใหม่ได้อย่างถูกต้อง เต็มศักยภาพของเครื่อง และเกิดประสิทธิภาพเต็มที่ เพื่อให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ยืดอายุการใช้งานชองเครื่อง และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทารกอันนำไปสู่การรอดชีวิตของทารก สารบัญดังนี้
    - การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดธรรมดาในทารกแรกเกิด
    - Flow synchronized ventilation
    - Pressure Support ventilation
    - ค่าปรกติของก๊าซในเลือด


 
 
Jirapaet K. Normal findings in neonates (3rd ed.). Bangkok : Ad-Team Creation, 1999.
ภาวะปรกติในทารกแรกเกิด
     ทารกแรกเกิด หมายถึงทารกอายุ 4 สัปดาห์หลังเกิด เป็นวัยที่มีภาวะหรือสิ่งปรกติที่ไม่พบในวัยอื่น ภาวะหรือสิ่งปรกตินี้อานทำให้พ่อแม่วิตกกังวลได้ บ่อยครั้งที่พ่อแม่พาทารกไปพบบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเป็นภาวะปรกติ และได้รับคำแนะนำหรือการรักษาที่ไม่จำเป็น หรือรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล หรือหาหยูกยามารักษาเอง ซึ่งอาจก่ออันตรายแก่ทารกได้ ภาวะปรกติเหล่านี้ไม่ต้องให้การรักษาใด ๆ



 
 
Jirapaet K. 32 problems in neonates. Bangkok : Ad-Team Creation, 1999.
32 ปัญหาในทารกแรกเกิด
     การดูแลทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ความพิการ และการสูญเสีย ทารกต้องอาศัยปัจจัย 3 สิ่ง ได้แก่
ระบบทางการแพทย์ คุณภาพการบริการทาง การแพทย์ และความรู้พื้นฐานทางการแพทย์เกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดของคุณแม่และคุณพ่อ สองปัจจัยแรก ยังมีปัญหาที่ต้องการเวลาและงบประมาณใน การพัฒนา ปัจจัยที่น่า จะพัฒนาได้เร็วและใช้งบประมาณน้อยที่สุดคือ การให้ความรู้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ และการให้ความรู้พื้นฐานแก่คุณแม่และคุณพ่อ เกี่ยวกับการป้องกันและการดูแลทารกไม่ให้เจ็บป่วย และการสอนให้รู้ ว่าอาการ แสดงอะไรที่บ่งว่าทารกมีความผิดปรกติ และต้องนำทารก ไปพบกุมารแพทย์



 
 
Jirapaet K. Use of breastmilk in sick neonates and preterm infants. Bangkok : Union Creation, 1999.
การให้นมแม่แก่ทารกก่อนกำหนด
     เป็นหนึ่งในหลักการของการดูแลทารกแรกเกิดซึ่งมีอยู่ 5 ข้อ คือ การดูแลอุณหภูมิกายให้ปรกติ การดูแลทางเดินหายใจให้โล่งและให้ออกซิเจนในเลือดปรกติ การป้องกันการติดเชื้อ การให้อาหารและสารน้ำ และการรักษาเฉพาะโรค บุคลากรทางการแพทย์ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและการตายของทารกแรกเกิด สารบัญดังนี้
    - สายสัมพันธ์แม่และลูก (Parent-infant bonding)
    - การให้น้ำนมปริมาณน้อย (Minimal enteral feeding)
    - การให้น้ำนมแม่แก่ทารกก่อนกำหนด
    - การบีบน้ำนมจากเต้า (Hand expression of breastmilk)
    - การป้อนนมด้วยถ้วย (Cup feeding)
    - การเพิ่มสารอาหารในน้ำนมแม่ (Fortification of human milk)


 
 
Jirapaet K. Neonatal respiratory care. Bangkok: Roen-Kaew Print, 1993.
การดูแลระบบการหายใจในทารกแรกเกิด
     ตำราเกี่ยวกับระบบการหายใจในทารกแรกเกิด มีรายละเอียดของวิธีป้องกันการเกิดการเจ็บป่วยทางระบบการหายใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจ สรีรพยาธิวิทยาของโรคที่ทำให้ทารกมีภาวะหายใจวาย และวิธีปฏิบัติรักษาด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพที่มีอุปกรณ์การแพทย์จำกัด พร้อมด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างถูกต้อง และการดัดแปลงเครื่องมือจากอุปกรณ์ที่มีราคาถูก สารบัญประกอบด้วย

- Perinatal Asphyxia
- การช่วยคืนชีพในทารกแรกเกิด
- การควบคุมอุณหภูมิกายของทารกแรกเกิด
- แนวทางการวินิจฉัยโรคของระบบทางเดินหายใจในทารกแรกเกิด
- เครื่องช่วยหายใจและหลักกการช่วยหายใจในทารกแรกเกิด
- การช่วยหายใจด้วยความถี่สูง
- การบริบาลทารกที่ต้องการการช่วยหายใจ
- Respiratory Distress Syndrome
- Transient Tachypnea of the Newborn
- การสูดสำลักขี้เทา
- ภาวะแรงดันเลือดของปอดสูงในทารกแรกเกิด
- การหยุดหายใจในทารกเกิดก่อนกำหนด
- การบาดเจ็บของปอดจากแรงดัน
- Bronchopulmonary Dysplasia
- การให้อาหารทางหลอดเลือดส่วนปลายในทารกแรกเกิด
- การดัดแปลงเครื่องมือสำหรับทารกแรกเกิด
- ค่าปรกติในทารกแรกเกิด



 
     
 
 
     
 

©Copyright 2001 Professor Kriangsak Jirapaet
Department of Pediatrics, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University.Tel./Fax. 02-4182560

You need Download Flashplayer 8 to view this site | Resolution 1440 by 900 Pixels