|
|
ปานแดงที่อก |
ปานแดงที่ไหล่ |
ปานแดงเป็นเนื้องอกของเยื่อบุหลอดเลือด (endothelium) มีลักษณะเป็นก้อนนูน
ขอบเขตชัดเจน นุ่ม และมีสีแดงสด หากเนื้องอกอยู่ใต้ผิวหนังที่ลึกลงไป ก้อนมีขอบเขตไม่
ชัดเจนและผิวหนังที่คลุมออกสีแดงปนน้ำเงิน หากเนื้องอกทั้งก้อนอยู่ลึกมาก จะปรากฏ
ก้อนนูนที่มีผิวหนังเหนือก้อนเนื้องอกปรกติหรือออกสีน้ำเงิน
ในระยะแรกเกิด ปานแดงอาจปรากฏเป็นรอยกว้าง (patch)
สีซีด เมื่อทารกเติบโต หลอดเลือดฝอยที่อยู่ภายในค่อย ๆ
พัฒนาเป็นหลอดเลือดฝอยพอง (telangiectasia) และขด
เป็นกลุ่ม (tuft) และมีสีแดงสด ปานแดงพบบ่อยในเพศหญิง
และทารกก่อนกำหนดที่น้ำหนักน้อยกว่า 1500 กรัม
ตำแหน่งที่พบบ่อยคือที่ใบหน้า ทารกสองในสามมีปานแดง
เพียงอันเดียว ก้อนโตตามตัวในช่วงอายุ 6 - 8 เดือน ซึ่ง
ตรงกับระยะที่ร่างกายเติบโตรวดเร็ว ในระยะที่ก้อนเพิ่มขนาดรวดเร็ว ผิวของก้อนอาจเป็นแผล
(ulceration) ซึ่งมักไม่ก่อปัญหา หากไม่เกิดการติดเชื้อหรือเลือดออกการรักษา ส่วนใหญ่ปานแดงหายได้เอง เวลาที่ก้อนเล็กลง ผิวก้อนที่มีสีแดงสดจะกลายเป็น สีเทาซีด ร้อยละ 50 หายเมื่ออายุ 5 ปี ร้อยละ 70 เมื่ออายุ 7 ปี โดยไม่ทิ้งร่องรอยไว้ที่ ผิวหนังหากปานแดงอยู่ในตำแหน่งสำคัญและก้อนโตเร็วมาก มีเลือดออกและการติดเชื้อ ซ้ำ ๆ มีการผิดรูปมาก หรือเกล็ดเลือดต่ำที่ทำให้เลือดออก อาจให้การรักษาด้วย corticosteroids ทางปากโดยให้ระยะสั้น หากไม่ได้ผล พิจารณาการผ่าตัด