|
granuloma และคราบน้ำเหลือง |
เมื่อขั้วของสายสะดือ (umbilical stump) แห้งและหลุดออก ผิวสะดือที่เป็นแผลจะมีชั้น บาง ๆ ของผิวหนังคลุม และกลายเป็นแผลเป็น (scar) การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดใน 12-15 วัน การดูแล แผลที่สะดือในระยะนี้คือทำความสะอาดโดยใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ร้อยละ 70 แตะแผลเบา ๆ วันละ หลาย ๆ ครั้ง และดูแลแผลให้แห้ง หากมีการติดเชื้อที่สะดือในระยะนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น แผลที่เกิดจากขั้ว สะดือหลุดกลายเป็นเนื้อเยื่อที่งอกมากเกิน (granulation tissue) ซึ่งจะมีเลือดไปเลี้ยงมากทำให้ เนื้อเยื่อมีสีแดงหรือชมพู อาจงอกยื่นออกมาเป็นตุ่มหรือติ่งจากพื้นผิวสะดือที่ขั้วสะดือหลุด และมีน้ำเหลืองซึมออกมา (mucopurulent discharge) มีผลให้สะดือแฉะและมีคราบน้ำเหลือง ติดเสื้อผ้า
|
วิธีจี้สะดือด้วย silver nitrate |
การป้องกัน ขณะที่ขั้วสะดือยังไม่หลุดต้องทายาระงับเชื้อที่สะดืออย่างสม่ำเสมอและดูแลสะดือ ให้แห้งโดยทำการล้างมือด้วยสบู่หรือน้ำยาฟอกมือที่เป็นยาระงับเชื้อให้สะอาดก่อน และหลังเช็ดสะดือ การใช้สำลีพันปลายไม้สำเร็จรูปเพื่อซับน้ำต้องใช้ด้วยความ
นุ่มนวลโดยใส่เข้าไปในซอก ระหว่างขั้วสะดือกับผิวหนังของสะดือ ห้ามถูแรง
เพราะทำให้เกิดบาดแผลถลอกและเลือดออก หลีกเลี่ยงการโรยสะดือด้วยสารที่
เป็นผงโดยไม่ผ่านการทำให้ไร้เชื้อ การรักษา จี้ตุ่มหรือติ่งเนื้อเยื่อด้วยแท่ง silver nitrate วิธีการจี้ ใช้วาสาลินทาผิวหนังรอบสะดือ เพื่อป้องกันผิวหนังที่ปรกติและอยู่รอบสะดือถูกจึ้ซึ่งทำให้ผิวหนังไหม้ หากเนื้อเยื่ออยู่ ลึก และขอบสะดือแคบ ให้ใช้นิ้วกดรอบสะดือ เพื่อให้ขอบสะดือแยกออกและตุ่ม เนื้อเยื่อยื่นออกจากผิวสะดือให้มากที่สุด ให้จี้จนทั่วพื้นผิวของตุ่มหรือติ่งเนื้อเยื่อและ สีเปลี่ยนจากแดงหรือชมพูเป็นสีขาว ใช้ผ้าก๊อซเช็ดวาสาลินให้แห้ง แล้วปิดด้วยผ้าก๊อซ บาง ๆ ทารกสามารถอาบน้ำได้ตามปรกติ แม้จะทำการป้องกัน ผิวหนังรอบสะดืออาจ สัมผัสกับ silver nitrate ทำให้ผิวหนังไหม้มีสีดำเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งจะหายใน 3-4 วัน