thai version english  
 
dr-sak
cai
research works
invention
Project
nicu setting
books
weblink
news
site map
 
     
   
 
 
 

double phototherapy lamp
ศาสตราจารย์ นพ. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์

 
 
แนวคิดในการพัฒนา double phototherapy lamp
ประสิทธิภาพของการลดบิลิรูบินในเลือด มีความสัมพันธ์โดยตรงกับพลังงานของเครื่องส่องไฟ และ พื้นผิวกายที่สัมผัสแสง ทารกที่มีบิลิรูบินในเลือดเพิ่มสูงเร็วหรือระดับใกล้เกณฑ์ถ่ายเปลี่ยนเลือดจึงต้องให้การส่องไฟที่มีประสิทธิภาพสูงมากกว่าปรกติ เพื่อเพิ่มอัตราการลดลงของบิลิรูบินในเลือด การให้การส่องไฟทั้งสองทิศทาง คือทั้งด้านบนและด้านล่างของทารก (double phototherapy lamp) จะช่วยหลีกเลี่ยงการถ่ายเปลี่ยนเลือดได้ เพื่อป้องกันการติดโรคที่มากับเลือด (blood transmitted diseases เช่น HIV, CMV, hepatitis B และ C เป็นต้น)
 
 
วัตถุประสงค์
เครื่องส่องไฟสำหรับภาวะตัวเหลือง-ศิริราช พบว่า มีประสิทธิภาพในการลดบิลิรูบินในเลือดมากกว่าเครื่องที่ผลิตจากต่างประเทศ โดยสามารถเพิ่มระดับ irradiance ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ทั้งนี้ขึ้นกับจำนวนหลอดไฟ ชนิดของหลอดไฟ การปรับระดับความสูงของโคมจากตัวทารก (20-30 ซม.) และการกั้นผ้าสี่ฟ้าที่โคมไฟ(ผลการวิจัยแสดงในตาราง) เมื่อระดับบิลิรูบินเพิ่มเร็ว และ/หรือ ใกล้เกณฑ์ถ่ายเปลี่ยนเลือด การใช้ double phototherapy lamp ช่วยเพิ่มอัตราการลดลงของบิลิรูบินในเลือดได้เร็วกว่า single phototherapy lamp 3.5 เท่า
 
 
ลักษณะ double phototherapy lamp
1. single phototherapy lamp มีตัวโคมยึดกับเสาสามารถหมุนโคมได้ 180 องศา และเลื่อนระดับโคมตามต้องการด้วยลูกบิดวงกลม
    มีมาตรบอกจำนวนชั่วโมงการใช้งานของหลอดไฟ
2. bilicrib ทำจากพลาสติกแข็ง พื้นเป็นพลาสติกอ่อนใส ทนต่อการฉีกขาด ใช้สำหรับวางทารกขณะให้การรักษาด้วยการส่องไฟ
3. หัวโคม phototherapy lamp ประกอบด้วยหลอดไฟสีฟ้า (special blue light ที่ให้ peak emission 435 nm) 18 วัตต์ 6 หลอด และ
    มีมาตรบอกจำนวนชั่วโมงการใช้งานของหลอดไฟ
4. รถเข็นทารกสแตนเลส ทำจากสแตนเลส ไม่เป็นสนิม ประกอบด้วยล้อ 4 ล้อ มีชั้นสำหรับวางหัวโคม photo และชั้นวางของอเนกประสงค์

 
 
ข้อพิสูจน์ทางการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ
เครื่องส่องไฟสำหรับภาวะตัวเหลือง-ศิริราช และ double phototherapy lamp

เครื่องส่องไฟสำหรับภาวะตัวเหลือง-ศิริราช พบว่า มีประสิทธิภาพในการลดบิลิรูบินในเลือดมากกว่าเครื่องที่ผลิตจากต่างประเทศ โดยสามารถเพิ่มระดับ irradiance ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ทั้งนี้ขึ้นกับจำนวนหลอดไฟ ชนิดของหลอดไฟ การปรับระดับความสูงของโคมจากตัวทารก (20-30 ซม.) และการกั้นผ้าสี่ฟ้าที่โคมไฟ(ผลการวิจัยแสดงในตาราง) เมื่อระดับบิลิรูบินเพิ่มเร็ว และ/หรือ ใกล้เกณฑ์ถ่ายเปลี่ยนเลือด การใช้ double phototherapy lamp ช่วยเพิ่มอัตราการลดลงของบิลิรูบินในเลือดได้เร็วกว่า single phototherapy lamp 3.5 เท่า
 
 
 
 
 

รูปแสดงการใช้งานเครื่อง double phototherapy lamp

           
             
 
 
แหล่งอ้างอิง
1. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์,วีณา จีระแพทย์. ประสิทธิ์ภาพของเครื่องส่องไฟ สำหรับรักษาภาวะตัวเหลือง- ศิริราช ในการลดระดับบิลิรูบินใน
     พลาสมา. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2540; 36: 284-90.

2. นภัทร สิทธาโนมัย, เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. ผลของการกั้นขอบโคม เครื่องส่องไฟรักษาภาวะตัวเหลืองด้วยผ้าขาว ผ้าสีฟ้าและอะลูมินัมฟอยล์
     ต่อพลังงานแสง. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2552; 48: 71-6.
 
 
สงวนลิขสิทธ์
ศาสตราจารย์ นพ. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์
 
 
คลิกดาวน์โหลดแหล่งอ้างอิง |      1.  |   2.
 
 
สถานที่ติดต่อ
ศาสตราจารย์ นพ. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ตึกโกศล ชั้น 4 โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถ. วังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
โทร./โทรสาร 02-4182560  อีเมล์ ksnewborn.si@gmail.com
 
 
 
 
 
     
 

©Copyright 2001 Professor Kriangsak Jirapaet
Department of Pediatrics, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University.Tel./Fax. 02-4182560

You need Download Flashplayer 8 to view this site | Resolution 1440 by 900 Pixels